วัดหัวข่วง จะอยู่ด้านข้างของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน และเยื้องกับวัดวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร วัดหัวข่วงเป็นวัดที่เก่าแก่อีกวัดหนึ่งของเมืองน่าน มาถึงน่านแล้วต้องไปไหว้พระที่วัดหัวข่วง
ประวัติวัดหัวข่วง
วัดหัวข่วง คำว่าข่วงหมายถึงลานกว้าง วัดหัวข่วงก็คือวัดที่อยู่หน้าลานกว้าง เป็นวัดเก่าแก่ที่ตั้งอยู่ในเขตหัวแหวน ย่านประวัติศาสตร์ของจังหวัดน่านใกล้กับหอคำอันเป็นตำหนักของเจ้าผู้ครองนครน่าน มีวิหาร และเจดีย์ มีลักษณะศิลปกรรมแบบท้องถิ่นล้านนา สกุลช่างเมืองน่าน ฝีมือประณีตงดงาม วัดนี้ไม่ปรากฏว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยใด มีเพียงหลักฐานว่าได้รับการบูรณะในราว พ.ศ. 2425 โดยเจ้าอนันตวรฤทธิเดช เจ้าเมืองน่าน และต่อมาราวปี พ.ศ.2472 ในสมัยเจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองน่าน องค์สุดท้าย
วิหารที่สวยงาม ปัจจุบันเป็นอาคารทรงจั่ว เด่นที่หน้าบันประดับลวดลายไม้จำหลักรูปพรรณพฤกษา อย่างประณีต และสวยงาม ซุ้มประตูหน้าต่าง ประดับลายปูนปั้นรูปใบผักกาด อันเป็นศิลปะแบบตะวันตก เป็นวิหารผีมือช่างเมืองน่าน ที่มีเอกลักษณ์ เป็นของตนเอง นอกจากนี้ในวัดยังมีหอไตรเก่าลักษณะน่าชม คล้ายวิหาร แต่มีขนาดเล็ก และทรงสูง หน้าบันและฝาชั้นบน ประดับลายแกะสลักสวยงาม ตั้งอยู่ใกล้องค์เจดีย์
แผนที่วัดหัวข่วง
พิกัด GPS
ละติจูด: 18.777217
ลองจิจูด: 100.7712434
คลิกเปิด Google Maps