วัดภูมินทร์ จังหวัดน่าน

เมืองแห่งดินแดนอันสงบสุข เป็นเมืองแห่งผู้คนที่จิตใจดี ที่ใครๆมาเยือนจังหวัดน่านและจะต้องมาไหว้สักการะซึ่งมีจิตกรรมฝาผนังอันล้ำค่าคือ วัดภูมินทร์

วัดภูมินทร์2

ประวัติวัดภูมินทร์

วัดภูมินทร์ เดิมชื่อ “วัดพรหมมินทร์” เป็นวัดหลวง ตั้งอยู่ในเขตพระนครดังปรากฏชื่อ ตำบลในเวียงในปัจจุบัน เจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2139  ต่อมาอีกประมาณ  300 ปี  มีการบูรณะครั้งใหญ่ ในสมัยเจ้าอนันตวรฤทธิ์เดช เมื่อ พ.ศ.2410 (ปลายสมัยรัชกาลที่ 4)  ใช้เวลาซ่อมแซมนานถึง  7 ปี วัดภูมินทร์มีลักษณะแปลกกว่าวัดอื่น ๆ คือ โบสถ์และวิหาร สร้างเป็นอาคารหลังเดียวกัน ประตูไม้ทั่งสี่ทิศ แกะสลักลวดลายงดงามโดยฝีมือช่างเมืองน่าน นอกจากนี้ฝาผนังแสดงถึงชีวิตและวัฒนธรรมของยุดสมัยที่ผ่านมาความสวยแปลกของวัดภูมินทร์ คือ เป็นพระอุโบสถและพระวิหารสร้างเป็นอาคารหลังเดียวกัน เป็นทรงจัตุรมุข สถาปัตยกรรมอันโดดเด่นด้วยเอกลักษณ์เฉพาะ ที่รวมเอาโบสถ์ วิหาร และเจดีย์ ไว้ในอาคารเดียวกัน ในลักษณะการจำลองแผนภูมิจักรวาลตามความเชื่อแห่งพุทธศาสนา โดยมีพระประธานจตุรทิศปางมารวิชัย 4 องค์ หันหน้าออกสู่ประตูทั้ง 4 ทิศ ประดิษฐ์ฐานอยู่ภายใน และมีนาคสะดุ้งขนาดใหญ่แห่แหนพระอุโบสถเทินไว้กลางลำตัว ที่เปรียบเสมือนการอุ้มชูพระพุทธศาสนาให้คงอยู่สืบไปนั่นเอง

วัดภูมินทร์2

พระอุโบสถจตุรมุข ความสวยแปลกของวัดภูมินทร์ที่ไม่เหมือนใคร และไม่มีใครเหมือน เป็นหนึ่งเดียวในประเทศไทยก็คือ เป็น พระอุโบสถทรงจตุรมุข พระประธานจตุรพักตร์ นาคสะดุ้งขนาดใหญ่แห่แหนพระอุโบสถเทินไว้กลางลำตัวนาค พระอุโบสถ จตุรมุขนี้กรมศิลปกรได้สันนิษฐานว่าเป็นพระอุโบสถจตุรมุขหลังแรกของประเทศไทย

วัดภูมินทร์3

วัดภูมินทร์4

พระประธานจตุรทิศ ปางมารวิชัย 4 องค์ หันหน้าออกสู่ประตูทั้ง 4 ทิศ ทั้งนี้มีเรื่องเล่ากันว่า หากใครจะไปกราบขอพรพระจตุรทิศ ให้พยายามสังเกตหน้าองค์พระ 1 ในทั้งสี่ทิศ ซึ่งจะมีอยู่เพียงทิศเดียวเท่านั้น ที่หน้าองค์พระประธานจะมีลักษณะยิ้มแย้มมากกว่าทั้ง 3 ทิศที่เหลือ ก็ให้กราบขอพรยังทิศนั้นแล้วจะได้สมปรารถนาตามที่ตั้งใจไว้

วัดภูมินทร์5

ภาพจิตรกรรมฝาผนัง ปรากฏอยู่บนผนังด้านในอุโบสถจัตุรมุข ทั้งสี่ด้าน โดยภาพจิตกรรมฝาผนังนี้จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ ส่วนที่แสดงถึงเรื่องราวและวิถีชีวิตตำนานพื้นบ้าน ส่วนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องพระเตมีราชชาดก และส่วนที่แสดงถึงความเป็นอยู่ของชาวน่านในอดีต เช่น การแต่งกายด้วยผ้าซิ่นลายน้ำไหล การทอผ้าด้วยกี่ทอมือ และการทำการค้ากับชาวต่างชาติเป็นต้น ซึ่งภาพจิตกรรมฝาผนังที่โดดเด่นเป็นพิเศษในวัดภูมินทร์แห่งนี้ก็คือ ภาพ “เสียงกระซิบบันลือโลก” หรือภาพ “ปู่ม่าน ย่าม่าน” ซึ่งเป็นคำเรียกผู้ชายผู้หญิงชาวไทลื้อสมัยโบราณ ในลักษณะกระซิบสนทนากัน

วัดภูมินทร์6

 นอกจากนี้วัดภูมินทร์เคยอยู่บนธนบัตรราคา 1 บาท ซึ่งเป็นธนบัตรในแบบ 5 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 10 ก.ย. 2485 ด้านหน้าเป็นพระบรมสาทิสลักษณ์ของรัชกาลที่ 8 และมีโบสถ์วัดภูมินทร์อยู่ทางด้านซ้ายของธนบัตร

วัดภูมินทร์7

“ช่องประตูโขง” ใต้ท้องพญานาค เชื่อกันว่า หากใครได้ลอดผ่านแล้วจะมีความสวัสดีในชีวิต หากเป็นคนต่างถิ่นจะได้กลับมาเยือนเมืองน่านอีกครั้ง

วัดภูมินทร์7

ทางด้านบริเวณวัดจะมีสถูปเจดีย์พระมาลัยโปรดโลก ภายในก็จะเป็นรูปปั้นจำลองนรก

วัดภูมินทร์8

วัดภูมินทร์9

แผนที่วัดภูมินทร์

 พิกัด GPS
ละติจูด: 18.7753706
ลองจิจูด: 100.7668009
คลิกเปิด Google Maps

Comments

comments

Check Also

วัดพญาวัด เมืองน่าน

Facebook Twitter Google+ Pinterest วัดพญาวัด ของเมืองน่าน เป็นวัดที่จะถึงก่อนวัดพระธาตุเขาน้อย ซึ่งสมัยก่อนถือว่าบริเวณวัดเป็นเขตกลางเมืองของเมืองน่าน ถ้าจะไปวัดพระธาตุเขาน้อย แนะนำให้มาไหว้พระที่วัดพญาวัดก่อนเลย ประวัติวัดพญาวัด วัดพญาวัด แต่เดิมบริเวณที่ตั้งวัดเป็นเขตศูนย์กลางเมืองน่านในสมัยที่ย้ายเมืองจากพระบรมธาตุแช่แห้งมาตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำน่าน สถูปเจดีย์สร้างด้วยศิลาแลงในสมัยพระนางจามเทวี มีลักษณะคล้ายเจดีย์กู่กุด …